วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

1.2 การประยุกต์ใช้ Route Survey

การประยุกต์ใช้

วัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้การก่อสร้างถูกต้องตามแบบเป็นการควบคุมการก่อสร้างและตรวจสอบงานก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเส้นทางเกรด ฯลฯ ทางรถไฟทางหลวงหรือสายไฟ หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
1. ตรวจสอบหมุดที่มีอยู่แล้ว การกำหนดหมุดขั้นสุดท้ายเพื่อ การก่อสร้าง: POT, PI, RP, PC, PT, center line, ระดับของ BM
2. กำหนดหมุดเพื่อการก่อสร้าง (Setting construction stakes)
3. การทำ Cross section
4. สำรวจเขตกรรมสิทธิ์ทาง

เพิ่มคำอธิบายภาพ


เช่น ปราสาทนครวัดแห่งอาณาจักรขอม ใช้ LiDAR เป็นระบบการสํารวจ รูปแบบใหม่ที่สามารถสํารวจรังวัดค่าระดับที่มีความหนาแน่น และมีความละเอียดสูงด้วยการฉายแสงเลเซอร์จากอากาศยานลงไป คุณสมบัติคือ ได้รับข้อมูลค่าพิกัด และค่าระดับห่างกันทุก 2 เมตร.ซึ่งหนาแน่นมาก มีความละเอียดเส้นชั้นความสูง 15 เซนติเมตร โดยประมาณ สามารถรังวัดพื้นดินที่มีต้นไม้ปกคลุมได้ (เมื่อแสงเลเซอร์สามารถทำลงสู่พื้นดินบางจุดในบริเวณนั้น) ไม่จําเป็นต้องทําการสํารวจภาคพื้นดินพร้อมกับการบินถ่ายภาพ สามารถแยกแยะวัตถุภาคพื้นดินได้ด้วยสายตา ความหนาแน่นของตําแหน่งจุดระดับสูง ปริมาณข้อมูลยิ่งมาก และมีความยุ่งยากมากตามไปด้วย

การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขและงานรังวัดด้วยดาวเทียมเพื่อการสำรวจและออกแบบทางหลวง

             การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขและงานรังวัดด้วยดาวเทียม เพื่อการสำรวจและออกแบบทางหลวง:กรณีศึกษาทางเลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาแนวทางการใช้วิธีการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลข ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมกับงานด้านการสำรวจและออกแบบทางหลวง ซึ่งด้วยเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน วิธีการข้างต้นเป็นอีกแนวทางหนึ่งของการสำรวจรังวัดพิกัดตำแหน่ง การตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับข้อมูลพิกัดตำแหน่งที่ได้ทำการรังวัดภาคสนามไปแล้ว หรือให้ข้อมูลภาพรวมในพื้นที่ ได้เป็นอย่างดี ผลการวิจัยพบว่า ภาพถ่ายมาตราส่วน 1:15000 มีความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนการสำรวจเบื้องต้น ภาพถ่ายมาตราส่วน 1:6000 มีความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนการสำรวจขั้นต้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลภาพถ่ายเชิงเลข คือ แบบจำลองระดับสูง และ ภาพถ่ายดัดแก้ออโท สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการออกแบบแนวทาง การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตทาง หรือ ใช้ประกอบกับแบบแนวทางราบ จากการเปรียบเทียบภาพที่สแกนด้วยความละเอียด 15 และ 25 ไมครอน พบว่าภาพที่สแกนด้วยความละเอียด 25 ไมครอน สามารถใช้งานได้เพียงพอสำหรับการสำรวจเส้นทาง และขนาดจุดภาพของภาพดัดแก้ออโทที่ผลิตได้ที่เหมาะสมกับงานออกแบบทาง คือ 0.20 เมตร สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ความถูกต้องของจุดพิกัดใน 3 มิติ ระยะเวลาในการทำงาน ขนาดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำมาใช้ในขั้นตอนต่างๆของการสำรวจและออกแบบทางหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น